For factory, We are an opportunity to expand market channel. Contact us สะดวก สบาย แบบบ้าน ช่าง วัสดุ l บ้านมอก. รับประกัน 2-10 ปี l เสียเงินครั้งเดียว งบไม่บาน ถูกจริง 10-20%
เพื่อความชัดเจน ถูกต้อง กรุณาติดต่อสอบถามราคาอัพเดทจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ทาทา TATA SD40T SR24
ชื่อสินค้า : เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ทาทา TATA SD40T SR24
ราคา : 14.60 บาท
ข้อมูลอัพเดท : 14 พฤษภาคม 2563
รายละเอียด :

เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ทาทา TATA SD40T SR24 ราคาถูก บกส EF (EAF)

 

ภาพตัวอย่าง ชื่อสินค้า ข้อมูลสินค้า น้ำหนัก ราคาปลีก

เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.)

พื้นที่หน้าตัด (ตร.มม.) มวลระบุ
(กก./ม.)
บาท/กก.
เหล็กข้ออ้อย EAF ทาทา SD40T DB10 10มม. 78.5 0.616 15.10 บาท

เหล็กข้ออ้อย EAF ทาทา SD40T DB12 12มม. 113.1 0.888 14.80 บาท

เหล็กข้ออ้อย EAF ทาทา SD40T DB16 16มม. 201.1 1.578 14.60 บาท

เหล็กข้ออ้อย EAF ทาทา SD40T DB20 20มม. 314.2 2.466 14.60 บาท

เหล็กข้ออ้อย EAF ทาทา SD40T DB22 22มม. 380.1 2.984 14.60 บาท

เหล็กข้ออ้อย EAF ทาทา SD40T DB25 25มม. 490.9 3.853 14.60 บาท

เหล็กข้ออ้อย EAF ทาทา SD40T DB28 28มม. 615.8 4.834 กรุณาติดต่อฝ่ายขาย

 

หน้า        1        2 

 

* ราคานี้ยังไม่รวมค่าขนส่ง และเป็นราคาขายปลีกหน้าโรงงาน
* โปรดเลือกใส่ตะกร้าสินค้า และระบุสถานที่จัดส่งเพื่อให้ระบบคำนวณค่าขนส่งตรงจากโรงงานให้


 

เหล็ก SD40 T หรือเหล็กตัว T คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างจากเหล็ก SD40 อย่างไร

ในช่วงนี้มักได้ยินคำถามเรื่องเหล็กตัว T อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งโดยมากมักไม่เข้าใจว่าเหล็กตัว T คืออะไร ทำไมต้องมีตัว T ด้วย แล้วเหล็กตัว T เหมือนหรือแตกต่างจากเหล็กธรรมดาอย่างไร

      หากย้อนกลับไปดูตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย เลขที่ มอก. 24-2548 ได้กำหนดชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยแบ่งตามส่วนประกอบ ทางเคมีและสมบัติทางกลออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ คือ ชั้นคุณภาพ SD30, ชั้นคุณภาพ SD40 และ ชั้นคุณภาพ SD50 (ตามหัวข้อ 3 ข้อ 3.1)1 และกำหนดให้ทำเครื่องหมาย ที่เหล็กข้ออ้อยประทับเป็น ตัวนูนถาวรบนเนื้อเหล็กให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน ด้วยสัญลักษณ์ “T” (เฉพาะเหล็ก ข้ออ้อยที่ผ่าน กรรมวิธีทางความร้อน (heat treatment) ในระหว่างการผลิต) ตามหัวข้อ 7 ข้อ 7.1 (4)1 เพื่อเป็นจุด สังเกตุสำหรับการเตรียมชิ้นงานทดสอบแรงดึง โดยเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีทาง ความร้อนต้อง ทดสอบโดยไม่มีการกลึงลดขนาดลงมา (ตามหัวข้อ 9 ข้อ 9.5 ข้อย่อยที่ 9.5.2.2 บรรทัดสุดท้าย)1

      ดังนั้นการแสดงสัญลักษณ์ “T” จึงเป็นการแสดงถึงกรรมวิธีในการผลิตสินค้า โดยเหล็กที่ แสดงสัญลักษณ์ “T” (ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน) หรือไม่แสดงสัญลักษณ์ “T” ก็ตาม (ไม่ผ่าน กรรมวิธีทางความร้อน) ต้องผ่านตามเกณฑ์ส่วน ประกอบทางเคมีและสมบัติทางกลของชั้นคุณภาพ นั้นๆตามที่มาตรฐานกำหนด จึงจะถือว่าสินค้านั้นมีคุณภาพ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่นการดัดโค้งของเหล็กชั้นคุณภาพ SD40 ต้องสามารถดัดโค้งได้ 180? โดยมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับการดัดเป็น 5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของเหล็กนั้น หรือเหล็กชั้นคุณภาพ SD50 ต้องมีความยืดไม่น้อยกว่า 13% เป็นต้น

      ในส่วนของคุณสมบัติอื่นๆ นอกเหนือจากที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้น เสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย เลขที่ มอก. 24-2548 ระบุไว้เช่นเรื่องการทนความร้อน, การทน การกัดกร่อน ฯลฯ โดยปกติทั่วไปจะไม่มีการทดสอบคุณสมบัติเหล่านี้ เนื่องจากการใช้งานเหล็ก ข้ออ้อยโดยทั่วไป จะใช้ในการเสริมแรงของคอนกรีต และมีคอนกรีตเป็นตัวห่อหุ้มเหล็กอยู่แล้ว ตามข้อกำหนดมาตรฐานในการออกแบบและก่อสร้าง (ACI code) ดังที่ปรากฏในมาตรฐาน สำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง (E.I.T. Standard 1008-38)2 บทที่ 3400 บทย่อยที่ 3407 คอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม ข้อ (ง) ในสภาวะแวดล้อมที่มีการกัดกร่อน หรือ (ฉ) การป้องกัน จากอัคคีภัย (หรือใน ACI 318M-05 Code 7.7.5 Corrosive environments or Code 7.7.7 Fire protection)3

      นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการถ่ายเทความร้อนของคอนกรีตที่สัมผัสกับไฟหรือ คุณสมบัติของเหล็กและคอนกรีตหลังเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคอนกรีตมีคุณสมบัติเป็น ฉนวน โดยอุณหภูมิที่ผิวคอนกรีตจะ สูงกว่าอุณหภูมิในจุดที่อยู่ลึกจากผิวเข้าไป ยิ่งระยะห่างจาก ผิวคอนกรีตเพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่จุดนั้นจะยิ่งลดลง ดังนั้นเหล็กข้ออ้อยที่มีระยะหุ้มคอนกรีตเพิ่มขึ้นจะ ได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้ลดลง4 ในขณะที่คอนกรีตที่รับอุณหภูมิสูงเกิน 500?C การรับกำลัง กดอัด (Compressive strength) จะลดลงอย่างมาก แต่เหล็กที่ผ่านการรีดร้อน จะเริ่มมีกำลังลดลง เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 600?C5 เนื่องจากเหล็กทั้งแบบมีสัญลักษณ์ “T” และไม่มีสัญลักษณ์ “T” จะไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างจุลภาคในช่วงอุณหภูมิ 200-600?C เมื่อรวมกับการที่เหล็กอยู่ใน คอนกรีตที่เป็นฉนวน มีระยะหุ้มคอนกรีตที่เหมาะสม จะช่วยชะลอการสูญเสียกำลังของเหล็กข้ออ้อย ได้ และตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย เลขที่ มอก. 24-2548 ชั้นคุณภาพ SD40 ได้กำหนด ค่าเคมีของคาร์บอน + (แมงกานีส/6) ไว้ไม่เกิน 0.55% ซึ่งตาม แผนภาพสมดุลย์ของเหล็ก-คาร์บอน (Iron-Carbon Equilibrium Diagram)6 จะพบว่าช่วงเปอร์เซ็นต์ คาร์บอนในเหล็กตั้งแต่ 0.09 – 0.53% เหล็กจะเริ่มมีการหลอมที่อุณหภูมิสูงกว่า 1400?C ดังนั้นเหล็ก ที่มีสัญลักษณ์ “T” และไม่มีสัญลักษณ์ “T” จึงทนความร้อนได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญใน งานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

      ในส่วนของการเชื่อมต่อเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตด้วยไฟฟ้า ตามมาตรฐานกำหนดคุณลักษณะ เฉพาะของวัสดุใช้ในงานโครงสร้างอาคาร มยผ. 1103-52 มาตรฐานงานเหล็กเสริมคอนกรีต7 ข้อ 5.6 การเชื่อมต่อเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตด้วยไฟฟ้า ได้กำหนดวิธีการเชื่อมต่อเหล็กด้วยไฟฟ้าชนิดของ ลวดเชื่อม และการเตรียมชิ้นงานเชื่อมเอาไว้แล้ว และจากงานวิจัยเรื่องคุณสมบัติของเหล็กที่ผ่าน กระบวนการทางความร้อนหลังทำการเชื่อม8 พบว่ากำลังของเหล็กที่ผ่านการเชื่อมไม่ได้ลดลง โดยเมื่อทำการทดสอบแรงดึงเหล็กจะขาดนอกรอยเชื่อม ซึ่งผู้ใช้งานสามารถส่งเหล็กที่ผ่าน การเชื่อมตามมาตรฐานไปทดสอบตามห้องปฏิบัติการทดสอบต่างๆ เพื่อยืนยันผลในส่วนนี้ได้ 

      เช่นเดียวกับการต่อเหล็กเสริมด้วยอุปกรณ์ทางกล เช่น Coupler ซึ่งในปัจจุบันได้รับความ นิยมอย่างมาก และมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธี แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม เมื่อนำเหล็กเสริม ที่ต่อด้วยอุปกรณ์ทางกลไปทดสอบแรงดึงแล้ว ชิ้นงานจะต้องขาดนอกช่วงต่อด้วยอุปกรณ์ทางกล และมีกำลังผ่านตามชั้นคุณภาพที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 24-2548 จึงจะ ถือว่าวิธีการต่อเหล็กนั้นสามารถนำไปใช้งานได้ 

      ดังนั้นเหล็กข้ออ้อยที่มีค่าเคมีและคุณสมบัติทางกลผ่านตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย เลขที่ มอก. 24-2548 จึงมีคุณภาพและคุณสมบัติเหมาะสมที่ จะใช้ในการก่อสร้าง ตามข้อกำหนดมาตรฐานในการออกแบบและก่อสร้างเช่น มาตรฐานวสท.1007-34 หรือ มาตรฐาน วสท.E.I.T. Standard 1008-38 เป็นต้น

เหล็กเส้นข้ออ้อย
เหล็กเส้นก่อสร้างจัดจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ทาทา ทิสคอน สำหรับ ใช้ในภาคการก่อสร้างด้านเสริมคอนกรีต เช่น คาน เสา พื้นของถนน สะพาน สนามกีฬา เขื่อน บ้าน และอาคาร เป็นต้น เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กที่มีแรงยึดที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีต้องการความแข็งแรงสูง ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น เหมาะสำหรับงาน เช่น ตึกที่มีความสูง สะพาน เขื่อน และงานก่อสร้างที่มีแรงอัดมากๆ มีทั้งแบบเหล็กตรงและเหล็กพับเพื่อสะดวกในการขนส่งของลูกค้า เหล็กข้ออ้อยมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10-40 มม. ผลิตตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 24-2559 ชั้นคุณภาพ SD40, SD50
 
เหล็กเส้นกลม
เหล็กเส้นก่อสร้างจัดจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ทาทา ทิสคอน สำหรับ ใช้ในภาคการก่อสร้างด้านเสริมคอนกรีต เช่น คาน เสา พื้นของถนน สะพาน สนามกีฬา เขื่อน บ้าน และอาคาร เป็นต้น เหล็กเส้นกลม มีลักษณะผิวกลมเกลี่ยง ไม่เป็นคลื่น ไม่มีปีก หน้าตัดกลมไม่เบี้ยว ไม่ปริแตก เหล็กเส้นกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6-25 มม. ผลิตตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 20-2559 ชั้นคุณภาพ SR24
 
 
 
 

>>>>>>