สินค้า
  • โครงสร้างบ้าน
  • หิน ปูน ทราย
  • คอนกรีตผสมเสร็จ Cpac

ชื่อสินค้า : คอนกรีตผสมเสร็จ Cpac

รายละเอียด

สั่งคอนกรีตผสมเสร็จกับ Onestockhome ได้ราคาที่ถูกกว่า ดีลโดยตรงกับโรงงาน
จัดส่งทั่วประเทศ  77 จังหวัด !!

ข้อมูลทั่วไป คอนกรีตผสมเสร็จ มาตรฐานซีแพค

คอนกรีตผสมเสร็จมาตรฐานซีแพค คือ คอนกรีตปกติที่ใช้กันโดยทั่วไป ถูกออกแบบให้มีกำลังอัดตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. (โดยทั่วไปแล้ว กำลังอัดของคอนกรีต จะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ต้องใช้เวลา 28วัน นับตั้งแต่ผลิต) เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา คาน ฐานราก พื้น เป็นต้น ควรเลือกคอนกรีตผสมเสร็จ ที่มีกำลังอัด เหมาะสมกับการใช้งาน และมีขั้นตอนการเตรียมงานและการทำงานพื้นที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้งานพื้นได้คุณภาพและใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

  • มีกำลังอัดให้เลือกใช้ ตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. (ทรงลูกบาศก์)
  • ลดปัญหาการผสมมือที่มีส่วนผสมที่ไม่แน่นอน และได้กำลังอัดไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
  • มีค่ายุบตัวถึง 3 ระดับ ให้เลือกใช้ตามลักษณะโครงสร้าง และวิธีการเทคอนกรีต

         1) 7.5 +/- 2.5ซม.    2) 10.0 +/- 2.5ซม.    3) 12.5 +/- 2.5ซม.

rmc,concrete,cpac,rmc,concrete,best,price,คอนกรีตผสมเสร็จ,ซีแพค,คอนกรีตผสมเสร็จ ซีแพค,ราคาถูก
มาตรฐานการบรรทุกคอนกรีต ซีแพค

ขนาดของรถคอนกรีตผสมเสร็จ จัดส่งถึงหน้างาน

  • รถโม่เล็ก ซีแพค กว้าง 2.5ม. สูง 2.8ม. ยาว 5.5ม. บรรจุคอนกรีตได้มากสุด 2 คิว/เที่ยว ทางเข้า ต้องกว้างอย่างน้อย 3 ม. ระวังสายไฟและสายโทรศัพท์ ควรมีความสูงเกิน 3ม. ถนนควรเป็นดินที่อัดแน่น หรือ คอนกรีต
  • รถโม่ใหญ่ ซีแพค กว้าง 3ม.  สูง 4ม. ยาว 8ม. บรรจุคอนกรีตได้มากสุด 5 คิว/เที่ยว ทางเข้า ต้องกว้างอย่างน้อย 4 ม. ถ้าเป็นโค้งหักศอกต้องกว้างอย่างน้อย 6ม. ระวังสายไฟและสายโทรศัพท์ ควรมีความสูงเกิน 4ม. ถนนควรเป็นดินที่อัดแน่น หรือ คอนกรีต 

กำลังอัด แรงอัด คอนกรีตผสมเสร็จ KSC คืออะไร ?

KSC เป็นหน่วยของกำลังอัด ย่อมาจาก Kilogram per Square Centimeter หรือ กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร กำลังอัดของคอนกรีตเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะเป็นการควบคุมคุณภาพของคอนกรีตที่นำมาใช้ให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างแต่ละประเภท ค่าการอ้างอิงกำลังอัดมาจากรูปทรงของคอนกรีตที่นำมาใช้ในการทดสอบ โดยแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบอเมริกาที่เป็นทรงลูกบาศก์ (Cube) และ แบบอังกฤษที่เป็นทรงกระบอก (Cylinder) คอนกรีตผสมเสร็จในประเทศไทยจะใช้มาตรฐานแบบอเมริกา หรือแบบทรงลูกบาศก์ (Cube) ตัวอย่างการอ้างอิงกำลังรับแรงอัด เช่น คอนกรีต ZBDM24A000 หมายถึง คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240ksc (Cube) หรือ 210 ksc (Cylinder) 

ตารางเปรียบเทียบ คอนกรีตผสมเสร็จ แบบทรงลูกบาศก์ (Cube) และ แบบทรงกระบอก (Cylinder) 

ตารางเปรียบเทียบคอนกรีต ทรงลูกบาศก์ ทรงกระบอก

การถอดแบบคอนกรีตผสมเสร็จ

วิธีการถอดแบบหล่อคอนกรีตและค้ำยันก่อสร้าง จะทำได้ต่อเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดขั้นต่ำต่อไปนี้ 

  • สำหรับแบบหล่อด้านข้าง เสา คาน กำแพง ฐานราก = 50 KSC (Cylinder) 
  • สำหรับแบบหล่อท้องพื้นและท้องคาน = 140 KSC (Cylinder) 
เทคอนกรีต,กี่วันแกะแบบ

การเท คอนกรีต และการทำให้แน่น

การเทคอนกรีต Placing และการทำให้แน่น (Compacting) เป็นงานที่กระทำควบคู่กันไปตลอดเวลา วัตถุประสงค์หลักของการเทคอนกรีตคือ การป้องกันไม่ให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว และทำคอนกรีตให้แน่นอย่างทั่วถึง การเทคอนกรีตและการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างถูกวิธี และบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น มีเทคนิคการดำเนินงานดังนี้ 

1. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของคอนกรีตโดยใช้เครื่องสั่นคอนกรีต 

2. ควรเทคอนกรีตทีละชั้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลาดเอียง ไม่ควรเทสุมเป็นกอง 

3. ความหนาของการเทแต่ละชั้น ควรเหมาะกับกำลังของเครื่องสั่นคอนกรีต เพื่อให้สามารถไล่ฟองอากาศออกจากส่วนล่างของแต่ละชั้น 

4. งานเทคอนกรีตสำหรับผนัง ควรเทให้หนาเป็นชั้น ความหนาชั้นละประมาณ 30-45ซม. ควรเริ่มเทคอนกรีตจากมุม หรือจุดท้ายสุดของแบบผนัง 

5. อัตราการเทคอนกรีต และการสั่นคอนกรีต ควรมีความสมดุลกัน 

6. ควรทำการสั่นคอนกรีตให้แน่นเสียก่อนในแต่ละชั้น ก่อนที่จะเทคอนกรีตในชั้นถัดไป 

7. โครงสร้างในแนวดิ่ง เช่น เสา และผนัง ไม่ควรเทคอนกรีตเร็วกว่า ความสูง 2 เมตรต่อ ชั่วโมง และควรเทอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรอยขณะเทคอนกรีต Cold Joint 

8. หลีกเลี่ยงการเทเสาคอนกรีตกระทบกับแบบหล่อหรือเหล็กเสริมโดยตรง กรณีโครงสร้างที่มีความสูง เช่น เสา ผนัง คานลึก ปล่องลิฟท์ ควรใช้ท่อเทคอนกรีต Tremie or Pipe เพื่อป้องกันการแยกตัว 

9. โดยทั่วไปควรเทคอนกรีตลงในแนวดิ่ง แต่สำหรับการเทคอนกรีตในแนวนอน หรือแนวลาดเอียง ต้องเทคอนกรีตจากจุดต่ำสุด และให้คอนกรีตดันตัวขึ้นมาตามแบบหล่อ ควรเทคอนกรีตอย่างต่อเนื่องกัน 

10. ไม่ควรให้ระยะตกอิสระของคอนกรีตสูงกว่า 1.5ม. 

11. หากต้องการหล่อคอนกรีต เสา ผนัง คาน พื้นพร้อมกัน ทำได้โดยเทคอนกรีตส่วนเสาและผนังทิ้งไว้ก่อน ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วจึงเทคอนกรีตในส่วนของคานและพื้นต่อไปได้ แต่ต้องระวังอย่างให้กระทบกระเทือนต่อเสาและผนังที่ยังไม่แข็งตัวดี

การเท คอนกรีต สำหรับอากาศร้อน (อุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส)

โดยทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ อยู่ระหว่าง 16-32 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้แล้ว ถือว่าเป็นอากาศร้อนสำหรับการปฏิบัตงานคอนกรีต การเทคอนกรีตในขณะที่อากาศร้อน เป็นปัญหาสำหรับประเทศในภูมิศาสตร์เขตร้อนอย่างประเทศไทย การที่อุณหภูมิสูง จะทำให้น้ำภายในคอนกรีตระเหยเร็วมาก ปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการแข็งตัวของคอนกรีตจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวที่ผิว Plastic Shrinkage Crack การแต่งผิวหน้ายากขึ้น รวมถึงทำให้เกิดรอยต่อขณะเทคอนกรีต Cold Joint ได้ง่าย การเพิ่มปริมาณน้ำในส่วนผสมไม่ใช่วิธีที่ดี เพราะทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง

ข้อแนะนำในการผสม คอนกรีต ให้มีคุณภาพดีในขณะอากาศร้อน คือ

1. ควรป้องกันวัสดุผสมมิให้กระทบกับแสงแดดโดยตรง หรือฉีดพ่นน้ำเพื่อลดความร้อน ในขณะลำเลียงวัสดุเข้าสู่เครื่องผสม 

2. น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต ควรทำให้เย็น โดยการผสมน้ำแข็งลงไป ช่วยลดอุณหภูมิได้เป็นอย่างมาก 

3. พ่นน้ำบนแบบหล่อ เหล็กเสริม และผิวพื้นดิน ก่อนการเทคอนกรีต เพื่อลดความร้อนให้ระเหยออกไปก่อน และช่วยป้องกันการดูดซับน้ำจากคอนกรีต 

4. ควรเทคอนกรีตต่อเนื่องตลอดทั้งพื้นที่ และเทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตที่ยังคงสภาพเหลว ห้ามเทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตซึ่งเททิ้งไว้นานเกิน 30 นาที เพราะจะเกิดรอยต่ออันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ขณะเทคอนกรีต Cold Joint 

5. ตบแต่งผิวหน้าคอนกรีตทันทีที่เทเสร็จ และป้องกันแสงแดดในขณะแต่งผิว 

6. ทำการบ่มคอนกรีตโดยพ่นน้ำบนผิวคอนกรีต หลังจากคอนกรีตได้อายุ 24 ชั่วโมง อุณหภูมิของน้ำที่นำมาใช้บ่ม ไม่ควรต่างจากอุณหภูมิของคอนกรีตมากนัก เพราะอาจจะทำให้เกิดการแตกร้าวได้ จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว 

7. ใช้สารเคมีผสมเพิ่ม ประเภทสารหน่วงการแข็งตัว Retarders เพื่อยืดระยะเวลาการแข็งตัวของคอนกรีตให้นานขึ้น ซึ่งสามารถยืดระยะเวลาการทำงานจาก 45 นาที เป็น 1 1/2 ชั่วโมง หรือ 2 เท่าของคอนกรีตที่ไม่ผสมน้ำยาหน่วงการแข็งตัว  

คอนกรีตปั๊ม,ท่อลำเลียง,ปั๊มคอนกรีต
คอนกรีต,